การศึกษาตามอัธยาศัย

มาทำความรู้จักกับ การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education)

‘การศึกษาตามอัธยาศัย’ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากแต่มันมีมาอย่างยาวนานมาก นับตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก ซึ่งในยุคดึกดำบรรพ์มนุษย์เริ่มจากการศึกษาจากธรรมชาติ เช่น ในสังคมเกษตรกรรมมนุษย์รู้จักการสังเกต การหนีภัยธรรมชาติ การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช การทำนา การทำอาวุธจากหิน เป็นต้น

แต่ในสังคมอุตสาหกรรม มนุษย์จะเริ่มเรียนรู้มากขึ้นจากการปฎิสัมพันธ์ การติดต่อซื้อขาย การอ่านเขียน การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมไปมาก จึงทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวตามไปด้วย และทำให้ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลง

การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตของมนุษย์ ที่สั่งสมจากประสบการณ์ในด้านต่างๆ ทั้ง การทำงาน บุคคลอื่น ครอบครัว ตลอดจนจากแหล่งความรู้ต่างๆ เป็นต้น เป็นวิธีเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถ รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะสำคัญที่เห็นได้เด่นชัด คือ ปราศจากหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่ต้องลงทะเบียน ไม่มีรับประกาศนียบัตร ตลอดจนไม่มีสถานที่แน่นอน ซึ่งสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ และลักษณะของการเรียนส่วนมาก เป็นการเรียนเพื่อเพิ่มความรู้ให้เกิดความกว้างขวาง สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต

การศึกษาตามอัธยาศัย

รูปแบบของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

การศึกษาตามอัธยาศัย ตามปกติแล้วจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน หรือไม่มีขั้นตอนเรียนรู้อย่างตายตัว เนื่องจากไม่มีหลักสูตรเป็นตัวกำหนดขอบเขต ทำให้การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้เรียนในแต่ล่ะบุคคล แต่อย่างไรก็ตามสำหรับในปัจจุบันนี้ ทางภาครัฐสามารถจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยอย่างต่อเนื่องได้ ดังนี้คือ

1. จัดกิจกรรมในแหล่งศึกษา เช่น ห้องสมุดประชาชน การหาข้อมูลทางออนไลน์ การศึกษาในพิพิธภัณฑ์ การศึกษาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน การจัดกลุ่มเสวนา การอภิปราย การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรม กิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่าน เป็นต้น
2. ส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้เกิดการศึกษาอย่างยั่งยืน เช่น การสนับสนุนสื่อความรู้ ให้แก่หน่วยงานสำคัญๆ ตลอดจนแหล่งความรู้ต่างๆ เป็นต้น
3. ส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ เช่น การสร้างห้องสมุดในสถานที่ราชการ หรือในสถานประกอบการต่างๆ เป็นต้น
4. ส่งเสริมและพร้อมสนับสนุนการพัฒนาของกลุ่มต่างๆ ตามความสนใจ เช่น กลุ่มดนตรี กลุ่มสิ่งแวดล้อม กลุ่มแหล่งพัฒนาชุมชน เป็นต้น

ซึ่งสรุปได้คือ ‘การศึกษาตามอัธยาศัย’ จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ‘การเรียนรู้ตลอดชีวิต’ ซึ่งเข้ามาตอบสนองความประสงค์ของมนุษย์ ผู้ที่อยากแสวงหาพร้อมเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ อันแสนล้ำค่า นอกเหนือไปจากการเรียนในระบบสถาบัน โดยการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสามารถเกิดขึ้นได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่มีจำกัดตายตัว รวมทั้งสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อต่างๆ อย่างไร้ขอบเขต เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งแหล่งออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตที่ในปัจจุบันนี้เข้าถึงได้ง่ายมาก และมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆของโลก

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ lacinquedea.com

Releated