โมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมพลจิตอาสา เรียนรู้วิถีกสิกรรมธรรมชาติ

โมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมพลจิตอาสา เรียนรู้วิถีกสิกรรมธรรมชาติ

การปลูกฝังพลังความร่วมมือ ให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม ถือเป็น DNA หลักของเชฟรอน ล่าสุด พนักงาน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด รวมถึง พนักงานจาก บริษัท เชฟรอน (ไทย) จํากัด (คาลเท็กซ์) และ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) กว่า 80 คน ร่วมกิจกรรมเรียนรู้ลงมือทำตามวิถีกสิกรรมธรรมชาติ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ อาสาชาวนามหานคร

ซึ่งเป็นพื้นที่เครือข่ายของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เพื่อเสริมองค์ความรู้ตามแนวทางศาสตร์พระราชา ให้พนักงานได้ต่อยอดในชีวิตจริงในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

นายชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเชฟรอนฯ กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ ภายใต้ “โครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” เป็นที่น่ายินดีที่พนักงานหลายคนได้นำองค์ความรู้จากกิจกรรมไปลงมือปฏิบัติจริง และออกแบบที่ดินในพื้นที่ของตนเองจนเห็นผลสำเร็จ รวมทั้ง นำความรู้เหล่านี้ไปบอกต่อแก่คนรอบข้าง และเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตหลังเกษียณอีกด้วย

ขณะที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด และผลักดันเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โมเดล BCG สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน

ทั้งด้านการนำข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมของไทย พลิกให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม และเกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน การต่อยอดการใช้ทรัพยากรที่สร้างประโยชน์สูงสุด ไปจนถึงการให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน

โมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมพลจิตอาสา เรียนรู้วิถีกสิกรรมธรรมชาติ

กิจกรรมครั้งนี้ ได้พาเหล่าจิตอาสามาร่วมเรียนรู้ลงมือทำที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ อาสาชาวนามหานคร ซึ่งตอบโจทย์โมเดลดังกล่าวในทุกมิติ ทั้งด้านการพัฒนาพื้นที่ อีกทั้ง ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมตามหลักกสิกรรมธรรมชาติด้านการบริหารจัดการ ดิน น้ำ ป่า และพัฒนาคน

นายวรเกียรติ สุจิวโรดม เจ้าของพื้นที่อาสาชาวนามหานคร และผู้อำนวยการ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ อาสาชาวนามหานคร วิสาหกิจเพื่อสังคม กล่าวว่า “พื้นที่ของเราตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการนำความรู้วิถีกสิกรรมธรรมชาติมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ให้ทั้งชุมชนในหนองจอกและทุกคนที่ได้มาเยี่ยมชมพื้นที่ ผลักดันการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและเปลี่ยนของเหลือใช้ให้เป็นประโยชน์ ไปจนถึงสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเราจะไม่ใช้สารเคมีใดๆ อีกทั้งยังมุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร อากาศ และน้ำเพื่อรองรับวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นกระถินเทพา ที่ในอนาคตข้างหน้าจะสามารถผลิตออกซิเจนให้คนกรุงเทพถึงแสนคน ซึ่งเป้าหมายของพื้นที่อาสาชาวนามหานครคือเราอยากเปลี่ยนที่ดินนี้เป็นโอกาส เพื่อสานต่อองค์ความรู้วิถีกสิกรรมธรรมชาติ รวมถึงแบ่งปันให้สังคมนับร้อยนับพันได้นำกลับไปสร้างประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองและให้ผู้คนพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะเป็นผลพลอยได้สู่สังคมเราในอนาคต”

ตลอดทั้งวัน พนักงานได้เรียนรู้ และลงมือทำภายใต้แนวคิด “โคก หนอง นา” โมเดล ซึ่งเป็นเทคนิคด้านการบริหารจัดการพื้นที่ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างพื้นที่การเกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ยามเกิดวิกฤตต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้ในเชิงทฤษฎีแล้ว ยังได้ลงมือปฏิบัติจริง

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ lacinquedea.com

แทงบอล

Releated